กระบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราชลมารค หมายถึง ริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์ และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบการมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว และสืบทอดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และได้มีมาจนปัจจุบัน แต่เดิมกระบวนพยุหยาตราสถลมารคเป็นการเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อประกอบการพระราชพิธีต่างๆ ที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี การอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมือง เข้ามาประดิษฐานในเมืองหลวง ตลอดจนการต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ และการพระบรมศพ เป็นต้น การจัดกระบวนพยุหยาตราสถลมารคนี้ กล่าวได้ว่า วิวัฒนาการมาจากการจัด🛥🛥🛥กระบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในกระบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมอีกด้วย ทั้งยังจัดเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติ และพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้ทรงแสดงพระบารมีแผ่ไพศาล เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่ง แด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยทั่วไปการจัดริ้วกระบวนได้แบ่งออกเป็น ๒ แบบ เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราใหญ่ ซึ่งจัดเป็น ๔ สาย และระบวนพยุหยาตราน้อย จัดเป็น ๒ สาย การจัดริ้วกระบวนมีกระบวนการจัดแบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ กระบวนนอกหน้า กระบวนในหน้า กระบวนเรือพระราชยาน กระบวนในหลัง และกระบวนนอกหลัง ซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงาม ความโอ่อ่าตระการตา ...